บล็อกเกอร์นี้จัดทำขึ้นโดยมีจุดประสงค์เพื่อที่จะใช้ในการเรียนในรายวิชาอินเตอร์เน็ตและการสื่อสารในชีวิตประจำวัน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

วันพุธที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2554

กฎหมายอินเตอร์เน็ต

กฎหมายเกี่ยวกับอินเทอร์เน็ต
                กฎหมาย  คือ  กฎ  ระเบียบ  ข้อบังคับ   กติกาของสังคมที่กำหนดขึ้นมาเพื่อใช้บังคับ  ควบคุม
ความประพฤติของบุคคลในสังคม ให้ปฏิบัติตาม   หากมีการฝ่าฝืน ไม่ปฏิบัติตามจะมีความผิดและได้รับโทษตามที่กำหนด
ไว้
                อินเทอร์เน็ต ( Internet ) คือ เครือข่ายของคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั่วโลกเข้าด้วยกัน เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ไซเบอร์สเปซ ( Cyberspace ) คำเต็มของอินเทอร์เน็ต คือ อินเทอร์เน็ตเวิร์กกิง
( Internetworking ) ต่อมานิยมเรียกสั้นๆ ว่า อินเทอร์เน็ต หรือ เน็ต

กฎหมายเกี่ยวกับอินเทอร์เน็ต
                ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมีความสำคัญต่อการติดต่อสื่อสารทั้งในส่วนราชการ และรัฐวิสาหกิจหรือรวมทั้งการดำเนินธุรกิจในปัจจุบันทุกองค์การต้องมีการศึกษาค้นคว้าข้อมูลผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ดังนั้นต้องมีการควบคุมดูแลผลประโยชน์ของผู้ที่นำข้อมูลมานำเสนอผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตและต้องคำนึงถึงความปลอดภัยของข้อมูล จากการประชุมคณะรัฐมนตรี ทางคณะรัฐมนตรีได้มีนโยบายทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อให้เกิดการปฏิรูปกฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ ( National Information Technology Committee : NITC ) เป็นผู้รับผิดชอบกฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ ( Information Technology Law ) จำเป็นต้องมีการตรากฎหมายขึ้นบังคับทั้งหมด 6 ฉบับ ได้แก่
           
กฎหมายเกี่ยวกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์
                   กล่าวถึงความรับผิดชอบเกี่ยวกับผลทางกฎหมายของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์  โดยข้อมูลนั้นต้องเป็นข้อมูลที่มีการอ้างอิงแหล่งที่มาอย่างเชื่อถือได้

กฎหมายเกี่ยวกับลายมือชื่อทางอิเล็กทรอนิกส์
                เพื่อรับรองสถานะทางกฎหมายของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ให้เสมอด้วยกระดาษ และลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ อันเป็นการรองรับนิติสัมพันธ์ต่างๆ ซึ่งแต่เดิมอาจจะจัดทำขึ้นในรูปแบบของหนังสือให้เท่าเทียมกับนิติสัมพันธ์รูปแบบใหม่ที่จัดทำขึ้นให้อยู่ในรูปแบบของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์   รวมตลอดทั้ง  การลงลายมือชื่อในข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ และรับฟังพยานหลักฐานที่อยู่ในรูปแบบของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์           

กฎหมายเกี่ยวกับอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์
                เป็นการคุ้มครองเพื่อมิให้เกิดการกระทำที่ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน เสียหายจากการนำความรู้ทางคอมพิวเตอร์ไปใช้ในทางที่ผิด  จำแนกเป็น   ขโมยข้อมูลมาเปลี่ยนแปลง  ทำลายข้อมูล  ทำให้คอมพิวเตอร์ของผู้อื่นเสียหาย การเจาะรหัสผ่านเข้าไปในระบบ  การเผยแพร่ภาพลามกอานาจาร  ขโมยโอนเงิน  คัดลอกโปรแกรมคอมพิวเตอร์มาใช้ในทางที่ผิด  การข่มขู่ผ่านทางคอมพิวเตอร์ สร้างสิ่งรบกวนระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์

กฎหมายเกี่ยวกับการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์
                 เพื่อกำหนดกลไกสำคัญทางกฎหมายในการรองรับระบบการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ ทั้งที่เป็นการโอนเงินระหว่างสถาบันการเงิน และระบบการชำระเงินรูปแบบใหม่ในรูปของเงินอิเล็กทรอนิกส์ก่อให้เกิดความเชื่อมั่นต่อระบบการทำธุรกรรมทางการเงินและการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์มากยิ่งขึ้น           

กฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
                เพื่อก่อให้เกิดการรับรองสิทธิและให้ความคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่งอาจถูกประมวลผลเปิดเผยหรือเผยแพร่ถึงบุคคลจำนวนมากได้ในระยะเวลาอันรวดเร็วโดยอาศัยพัฒนาการทางเทคโนโลยี จนอาจก่อให้เกิดการนำข้อมูลนั้นไปใช้ในทางมิชอบอันเป็นการละเมิดต่อเจ้าของข้อมูล ทั้งนี้ โดยคำนึงถึงการรักษาดุลยภาพระหว่างสิทธิขั้นพื้นฐานในความเป็นส่วนตัว เสรีภาพในการติดต่อสื่อสาร และความมั่นคงของรัฐ

กฎหมายลำดับรองของรัฐธรรมนูญ มาตรา 78
                เพื่อก่อให้เกิดการส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศ อันได้แก่โครงข่ายโทรคมนาคม เทคโนโลยีสารสนเทศ สารสนเทศ ทรัพยากรมนุษย์ และโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศสำคัญอื่นๆ อันเป็นปัจจัยพื้นฐานสำคัญในการพัฒนาสังคมและชุมชนโดยอาศัยกลไกของรัฐ ซึ่งรองรับเจตนารมณ์สำคัญประการหนึ่งของแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 78 ในการกระจายสารสนเทศให้ทั่วถึงและเท่าเทียมกัน และนับเป็นกลไกสำคัญในการช่วยลดความเหลื่อมล้ำของสังคมอย่างค่อยเป็นค่อยไป เพื่อสนับสนุนให้ท้องถิ่นมีศักยภาพในการปกครองตนเอง พัฒนาเศรษฐกิจภายในชุมชน และนำไปสู่สังคมแห่งปัญญาและการเรียนรู้
               เมื่อมีการศึกษาเกี่ยวกับ   “กฎหมายเกี่ยวกับอินเตอร์เน็ต”  สิ่งที่จะต้องศึกษาควบคู่กันไปคือ  “กฎหมายเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์”  เนื่องจากคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันนี้ใช้ในการ  เข้าสู่ระบบการใช้อินเทอร์เน็ตมากที่สุด  จึงควรศึกษากฎหมายเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์เพื่อเป็นพื้นฐานการใช้คอมพิวเตอร์ในทางที่ถูกต้อง
              การพัฒนาพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 นั้นเริ่มต้นขึ้นมาตั้งแต่ปี 2541 โดยในระหว่างขั้นตอนการร่าวงกฎหมาย ได้มีการจัดสัมมนาเพื่อสร้างความเข้าใจให้กับประชาชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาโดยตลอด
               การบังคับใช้กฎหมายให้สัมฤทธิ์ผล จำเป็นต้องกำหนดให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชนมีหน้าที่ในการเก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ ซึ่งจะเป็นพยานหลักฐานที่สำคัญที่สามารถสืบไปถึงตัวผู้กระทำความผิดได้
               พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ วันที่ 18 ก.ค. 2550 เป็นต้นมาจนถึงทุกวันนี้

พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550
1.ฐานความผิด
              การกระทำความผิดสำหรับมาตร 5 ถึง 13 นั้น เป็นการกระทำที่กระทบต่อความมั่นคงปลอดภัยของระบบสารสนเทศ ซึ่งเป็นการกระทำความผิดต่อ
              q การรักษาความลับ (Confidentiality)                  
              q ความครบถ้วนและถูกต้อง (Integrity)               
              q ความพร้อมใช้งาน (Availability)       
              ซึ่งความผิดในหมวด 1 เป็นความผิดที่ไม่สามารถยอมความได้ เนื่องจากผลของการกระทำความผิด หรือก่อให้เกิดความเสียหายขึ้นนั้น อาจไม่เพียงกระทบต่อบุคคลใดบุคคลหนึ่งเท่านั้น แต่อาจจะกระทบต่อสังคม หรือก่อให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจในวงกว้าง รวมทั้งหาตัวผู้กระทำผิดได้ยก ยกเว้นมาตร 16 ซึ่งเป็นความผิดที่กระทบเพียงบุคคลเดียว คู่คดีสามารถไกล่เกลี่ยกันได้

ฐานความผิดตามาตราต่างๆในหมวด 1 มีดังนี้

q มาตรา 5 การเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์โดยมิชอบ
              การเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ เช่น การใช้โปรแกรมสปายแวร์ (Spyware) ขโมยข้อมูลรหัสผ่านส่วนบุคคลของผู้อื่น เพื่อใช้บุกรุกเข้าไปในระบบคอมพิวเตอร์ของผู้นั้นผ่านช่องโหว่ของระบบดังกล่าวโดยไม่ได้รับอนุญาต

q มาตรา 6 การล่วงรู้มาตรการป้องกันการเข้าถึง และนำไปเปิดเผยโดยมิชอบ
               การล่วงรู้มาตรการความปลอดภัยการเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ เช่น โปรแกรม Keystroke แอบบันทึกการกดรหัสผ่านของผู้อื่น แล้วนำไปโพสไว้ในเว็บบอร์ดต่างๆเพื่อให้บุคคลที่สามใช้เป็นรหัสผ่านเข้าไปในระบบคอมพิวเตอร์ของผู้เป็นเหยื่อ

q มาตรา 7 การเข้าถึงข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยมิชอบ
               การเข้าถึงข้อมูลคอมพิวเตอร์ เช่น การกระทำใดๆตามที่กล่าวไว้ข้างต้นเพื่อเข้าถึงแฟ้มข้อมูล(File) ที่เป็นความลับโดยไม่ได้รับอนุญาต

q มาตรา 8 การดักข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยมิชอบ
                การดักข้อมูลคอมพิวเตอร์ คือ การดักรับข้อมูลของผู้อื่นในระหว่างการส่ง เช่น การใช้สนิฟเฟอร์(Sniffer) แอบดักแพ็กเก็ต(Packet) ซึ่งเป็นชุดข้อมูลที่เล็กที่สุดที่อยู่
ระหว่างการส่งไปให้ผู้รับ

q มาตรา 9 และ 10 การรบกวนข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือระบบคอมพิวเตอร์โดยมิชอบ
                การรบกวนข้อมูลหรือระบบคอมพิวเตอร์ เช่น การใช้โปรแกรมไวรัสเพื่อส่งอีเมล์(E-mail) จำนวนมหาศาลไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์ผู้อื่น เพื่อทำให้คอมพิวเตอร์ไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ

q มาตรา 11 การสแปมเมล์
                เป็นมาตราที่เพิ่มเติมขึ้นมาเพื่อให้ครอบคลุมถึงการส่งสแปม ซึ่งเป็นลักษณะการกระทำความผิดที่ใกล้เคียงกับมาตรา 10 และยังเป็นวิธีกระทำความผิดโดยการใช้โปรแกรมหรือชุดคำสั่งส่งไปให้เหยื่อจำนวนมาก โดยปกปิดแหล่งที่มา เช่น IP Address ส่งผลกระทบ ก่อให้เกิดความเสียหายต่อระบบคอมพิวเตอร์ของเหยื่อ

q มาตรา 12 การกระทำความผิดที่ก่อให้เกิดความเสียหายหรือส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของประเทศ
                การรบกวนระบบคอมพิวเตอร์ที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อประชาชนหรือกระ-กระต่อความมั่นคงของประเทศ ความปลอดภัยสาธารณะ ความมั่นคงในทางเศรษฐกิจ และการบริการสาธารณะ ส่วนใหญ่จะเป็นการเจาะเข้าไปในระบบคอมพิวเตอร์และแอบเพิ่มเติม หรือทำลายข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อมูลคอมพิวเตอร์  ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อระบบสาธารณูปโภคหรือระบบการเงินของประเทศ ซึ่งเป็นที่มาของการทำสงครามข้อมูลข่าวสาร(Information Warfare)

q มาตรา 13 การจำหน่ายหรือเผยแพร่ชุดคำสั่งเพื่อใช้กระทำความผิด
                การเผยแพร่ชุดคำสั่งชั่วร้ายที่ใช้ในการกระทำความผิดตามมาตราต่างๆก่อนหน้านี้

q มาตรา 14 และ 15 การปลอมแปลงคอมพิวเตอร์หรือเผยแพร่เนื้อหาที่ไม่เหมาะสม และการรับผิดของผู้ให้บริการ
                สองมาตรานี้เป็นลักษณะที่เกิดจากการนำเข้าข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่เป็นเท็จ หรือมีเนื้อหาไม่เหมาะสมในรูปแบบต่างๆ โดยในมาตรา 14 ได้กำหนดให้ครอบคลุมถึงการปลอมแปลงข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือสร้างข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่เป็นเท็จ หรือก่อให้เกิดความเสียหายต่อผู้อื่น รวมทั้งข้อมูลลามกอนาจาร และการฟอร์เวิร์ด(Foward)หรือส่งต่อข้อมูลดังกล่าวอีกด้วย
                ในมาตรา 15 ได้มีการกำหนดโทษของผู้ให้บริการที่สนับสนุน หรือยินยอมให้มีการกระทำความผิดตามมาตรา 14 ต้องรับโทษด้วยหากไม่ได้ระงับการเผยแพร่ข้อมูลดังกล่าว

q มาตรา 16 การเผยแพร่ภาพจากการตัดต่อหรือดัดแปลงให้ผู้อื่นถูกดูหมิ่นหรืออับอาย      
                เป็นการกำหนดฐานความผิดในเรื่องของการตัดต่อภาพของบุคคลอื่นที่อาจจะทำให้ผู้เสียหายเสียชื่อเสียง ถูกเกลียดชัง หรือได้รับความอับอาย โดยความผิดในมาตรานี้เป็นความผิดที่มีความใกล้เคียงกับความผิดฐานหมิ่นประมาทในประมวลกฎหมายอาญา แต่มีการแพร่กระจายความเสียหายลักษณะดังกล่าวทางคอมพิว- เตอร์หรืออินเทอร์เน็ตนั้นเป็นไปอย่างรวดเร็วและขยายวงกว้างมากกว่า

q มาตรา 17 การกระทำความผิดนอกราชอาณาจักรซึ่งต้องรับโทษในราชอาณาจักร
                เป็นการนำตัวผู้กระทำความผิดมาลงโทษ เนื่องจากมีความกังวลว่า หากมีความกระทำความผิดนอกประเทศแต่ความเสียหายเกิดขึ้นภายในประเทศแล้วจะนำตัวผู้กระทำความผิดมาลงโทษได้อย่างไร จึงต้องกำหนดไว้ให้ชัดเจนในพระราชบัญญัติฯฉบับนี้ด้วย

1.อำนาจของพนักงานเจ้าหน้าที่
                การกำหนดเกี่ยวกับอำนาจของพนักงานเจ้าหน้าที่ ได้กำหนดไว้ตั้งแต่มาตรา 18 ถึง 30 ดังนี้

q มาตรา 18 อำนาจพนักงานเจ้าหน้าที่
                มาตรานี้ได้ให้อำนาจหน้าที่แก่พนักงานเจ้าหน้าที่ไว้อย่างเต็มที่ เพื่อให้การสืบสวน สอบสวนทำได้อย่างเต็มที่ เช่น อำนาจในการค้นหรือเข้ายึด หรือตรวจสอบระบบคอมพิวเตอร์ที่ต้องสงสัยว่ามีการนำมาใช้กระทำความผิด การถอดรหัสลับของข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรือการเรียกข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ เป็นต้น

q มาตรา 19 การตรวจสอบการใช้อำนาจของพนักงานเจ้าหน้าที่
                เป็นการกำหนดให้มีการตรวจสอบการใช้อำนาจของพนักงานเจ้าหน้าที่ของศาลให้มีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น เช่น
ü การกำหนดให้พนักงานเจ้าหน้าที่ระบุเหตุอันควรเชื่อว่า ทำไมจึงต้องใช้อำนาจตามพระราชบัญญัติฯ
ü ลักษณะการกระทำความผิด รายละเอียดของอุปกรณ์ที่ใช้ในการกระทำความผิดเท่าที่จะทำได้
ü การยึดหรืออายัดระบบคอมพิวเตอร์ ต้องยื่นคำร้องต่อศาลที่มีอำนาจและจะทำได้ไม่เกิด 30 วัน โดยอาจขอขยายระยะเวลาดังกล่าวต่อศาลได้อีกไม่เกิน 60 วัน
ü เมื่อหมดความจำเป็นหรือหมดเวลาก็ต้องส่งคืนระบบคอมพิวเตอร์ที่ยึดมาทันที

ü มาตรา 20 การให้อำนาจในการบล็อกเว็บไซต์
                การกระทำที่เข้าข่ายว่าเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติฯที่อาจกระทบต่อความมั่นคง หรือขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมจะกระทบต่อความรู้สึกของคนในสังคมเป็นอย่างมาก ซึ่งการจัดการกับปัญหาดังกล่าวจะต้องกระทำด้วยความรวดเร็ว
                แต่การบล็อกเว็บไซต์นั้นอาจส่งผลกระทบต่อธุรกิจของผู้ให้บริการ จึงอาจทำให้เกิดเหตุการณ์ฟ้องร้องพนักงานเจ้าหน้าที่กลับได้ ดังนั้นพระราชบัญญัติจึงกำหนดให้รัฐมนตรีรักษาการมีบทบาทในการกลั่นกรองดุลยพินิจของพนักงานเจ้าหน้าที่ก่อนที่จะดำเนินการยื่นขอบล็อกเว็บไซต์จากศาล

q มาตรา 21 การห้ามจำหน่ายหรือเผยแพร่ชุดคำสั่งไม่พึงประสงค์
                ชุดคำสั่งไม่พึงประสงค์ (Malicious Code) คือ ชุดคำสั่งหรือโปรแกรมชั่วร้ายทั้งหลายที่สร้างขึ้นมาเพื่อกระทำความผิดตามพระราชบัญญัติฯในรูปแบบต่างๆ  เช่น ไวรัส เวิร์ม สปายแวร์ โทรจันฮอร์ส เป็นต้น
                ปัจจุบันมีผู้ใช้โปรแกรมชั่วร้ายดังกล่าวเพื่อก่อกวนและทำลายระบบคอมพิวเตอร์บ่อยครั้ง มาตรานี้  จึงให้อำนาจแกพนักงานเจ้าหน้าที่ในการห้ามจำหน่ายหรือเผยแพร่โปรแกรมเหล่านั้น รวมถึงการระงับการใช้ ให้ทำลาย หรือแก้ไขชุดคำสั่งดังกล่าวได้ด้วย นอกจากนั้นยังสามารถกำหนดเงื่อนไขในการใช้การครอบครอง และการเผยแพร่โปรแกรมได้อีกด้วย

q มาตรา 22 ถึง 24 การรักษาความลับของพยานหลักฐาน
                 แม้จะมีกลไกลการตรวจสอบการใช้อำนาจของพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ระบุไว้ในมาตรา 18 และ 19 แล้วก็ตาม แต่เพื่อเป็นการรักษาความลับของพยานหลักฐานที่ได้มาจากการสืบสวนสอบสวนที่จำเป็นต่อการดำเนินคดี ไม่ให้ไปเปิดเผยหรือส่งมอบให้บุคคลอื่น เพื่อป้องกันการใช้อำนาจของพนักงานเจ้าหน้าที่ในทางที่ผิด ดังนั้นมาตรา 22 จึงได้กำหนดห้ามไม่ให้เปิดเผยพยานหลักฐาน แต่ก็มีขอยกเว้นว่า หากมี   การยื่นขออนุญาตจากศาล ก็สามารถเปิดเผยได้
                มาตรา 23 ได้กำหนดบทลงโทษพนักงานเจ้าหน้าที่ไว้ด้วยในกรณีที่ประมาทจนเป็นเหตุที่ทำให้พยานหลักฐานรั่วไหลให้ผู้อื่นรู้ข้อมูล
                มาตรา 24 เป็นการกำหนดบทลงโทษของผู้ที่รู้ข้อมูลจากพนักงานเจ้าหน้าที่

q มาตรา 25 ห้ามมิให้ฟังพยานหลักฐานที่ได้มาโดยมิชอบ
                มาตรานี้จะเป็นการกำหนดให้ข้อมูลที่ได้จากคอมพิวเตอร์หรือไฟล์ต่างๆสามารถนำมาให้เป็นพยานหลักฐานได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาได้ เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาการปฏิเสธในการนำเอาข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่ได้จากคอมพิวเตอร์มาเป็นพยานหลักฐาน
               นอกจากนี้ยังได้กำหนดให้พยานหลักฐานที่ได้มาโดยทุจริต ไม่สามารถนำมาใช้เป็นพยานหลักฐานได้อีกด้วย

q มาตรา 26 ถึง 27 หน้าที่ของผู้ให้บริการในการเก็บข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ และความรับผิด หากไม่ปฏิบัติตามหน้าที่
               ข้อมูลจราจรคอมพิวเตอร์ ถือว่าเป็นพยานหลักฐานชิ้นสำคัญในการพิจารณาคดี ดังนั้นมาตรานี้ จึงได้กำหนดให้ผู้บริการปะเภทใดปะเภทใดบ้างที่มีหน้า  ที่ต้องเก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ การจัดเก็บอย่างไร และให้จัดเก็บไว้ ตั้งแต่เมื่อใด
               พระราชบัญญัติฯกำหนดให้รัฐมนตรีกระทรวงไอซีทีเป็นผู้จัดทำประกาศ โดยกำหนดให้ทำการจัดเก็บข้อมูลจราจรคอมพิวเตอร์ไว้เป็นเวลา 90 วัน เพื่อให้เพียงพอต่อการนำข้อมูลดังกล่าวไปใช้ในการสืบสวนสอบสวนต่อไป และอาจร้องขอต่อศาลให้ขยายระยะเวลาในการจัดเก็บได้ไม่เกิน 1 ปี

q มาตรา 28 การแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่
               เพื่อให้การสืบสวนสอบสวนคดีที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์สามารถทำได้อย่างถูกต้อง พนักงานเจ้าหน้าที่ที่จะได้รับการแต่ตั้งอาจประกอบด้วย
ü วิศวกรที่มีความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับการกระทำผิดทางคอมพิวเตอร์
ü นักกฎหมายที่มีความรู้ความเข้าใจในการบังคับใช้กฎหมาย
ü พนักงานสอบสวนจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
ü เจ้าหน้าที่จากกรมสอบสวนคดีพิเศษ
ü บุคคลที่มีพื้นฐานความรู้ทางระบบคอมพิวเตอร์
               มาตรานี้กำหนดให้รัฐมนตรีกระทรวงไอซีทีสามารถออกประกาศเกี่ยวกับกำหนดคุณสมบัติพนักงานเจ้าหน้าที่เพิ่มเติม เพื่อให้ได้พนักงานเจ้าหน้าที่ที่มีความรู้ความสามารถในการดำเนินการตามพระราชบัญญัติฯได้เป็นอย่างดี   
           
q มาตรา 29 การรับคำร้องทุกข์กล่าวโทษ จับ ควบคุม และกำหนดระเบียบ แนวทางและการวิธีปฏิบัติ และมาตรา 30 การแสดงบัตรประจำตัวของพนักงานเจ้าหน้าที่
               มาตรา 29 เป็นการกำหนดเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ในการจับกุม ควบคุม สอบสวน การทำสำนวน และการดำเนินคดี โดยพนักงานเจ้าหน้าที่ประสานงานร่วมกับพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบในการดำเนินคดี เพื่อให้การดำเนินคดีเป็นไปอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
               ส่วนมาตรา 30 เป็นการกำหนดให้พนักงานเจ้าหน้าที่จะต้องมีการแสดงบัตรประจำตัวทุกครั้งที่ปฏิบัติหน้าที่



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น