บล็อกเกอร์นี้จัดทำขึ้นโดยมีจุดประสงค์เพื่อที่จะใช้ในการเรียนในรายวิชาอินเตอร์เน็ตและการสื่อสารในชีวิตประจำวัน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

วันพุธที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2554

เรียนรัฐศาสตร์ สู่การเป็นนักปกครองที่ดี

           รัฐศาสตร์ (political science) เป็นศาสตร์ที่มีมีขอบเขตกว้าง ศึกษาเกี่ยวกับเรื่องราวและ สถาบันที่เป็นสาธารณะ การศึกษารัฐศาสตร์มีลักษณะเป็นการศึกษาในลักษณะของสหวิทยาการ อาศัยองค์ความรู้ในศาสตร์สาขาอี่นมาช่วยในการอธิบายหรือประกอบในการศึกษา ปรากฏการณ์ทางการเมืองต่างๆที่เกิดขึ้น ความรู้พื้นฐานในรัฐศาสตร์

ภาพ Welcome to the Department of Political Science at UM-Flint.
ที่มา
www.umflint.edu/polsci

           ในเบื้องต้นนักศึกษาจะต้องมีความรู้ในเรื่องของ การบริหารรัฐกิจเบื้องต้น, การเมืองการปกครองไทย, ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเบื้องต้น, การปกครองเปรียบเทียบ และหลักและวิธีการวิจัยทางรัฐศาสตร์ สาขาวิชาที่สำคัญของรัฐศาสตร์ ในการศึกษารัฐศาสตร์สามารถแบ่งเป็นสาขาได้ดังนี้
1. ปรัชญาการเมือง (Political Philosophy)
           ปรัชญาทางการเมือง อันหมายถึง หลักจริยธรรมซึ่งถือเป็นแนวทางในการกำหนดนโยบายของสังคม อันเป็นเสมือนหลักการแห่งเหตุผล หรืออธิบายในแง่หนึ่งได้ว่าเป็นเหมือนราดฐานของระบบการเมือง ซึ่งแต่ละรูปแบบระบบการเมืองก็จะมีปรัชญาการเมืองเป็นเบื้องหลังแตกต่างกันไปควบคู่ไปกับอุดมการณ์ทางการเมือง (Political Ideology) ซึ่งเป็นเสมือนเป้าหมายทางการเมืองที่เป็นพลังผลักดันให้มนุษย์มีพฤติกรรม หรือปฏิบัติการอย่างหนึ่งอย่างใดเพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมายนั้น (ทินพันธ์ นาคะตะ 2541, 19)


ภาพ Comparative Politics
ที่มา web.olivet.edu

2. การเมืองการปกครอง (Government)   
            เป็นศาสตร์ที่ว่าด้วยรัฐอย่างชัดเจน เน้นศึกษาในเรื่องของ ศาสตร์ที่ว่าด้วยรัฐ อย่างชัดเจน การปกครอง ความคิดทาการเมือง ระบบการเมือง ระบบการปกครอง ปรัชญาการเมือง รัฐธรรมนูญ และอื่นๆ เพื่อให้ผู้เรียนสามารถการบูรณาการความรู้ที่เรียนมาในการอธิบายปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นใน สังคม
 ตัวอย่าวิชาที่เรียน เช่น  ทฤษฎีและจริยธรรมทางการเมือง, หลักรัฐธรรมนูญและสถาบันการเมือง, พรรคการเมืองและกลุ่มผลประโยชน์, กระบวนการฝ่ายนิติบัญญัติ, การปกครองส่วนภูมิภาค, การเมืองในสหรัฐอเมริกา   อังกฤษ  ฝรั่งเศส , การเมืองและการจัดที่ดิน, ระบบรัฐสภาเปรียบเทียบ, กระบวนการยุติธรรมการตำรวจ, การวิเคราะห์ระบบการเมือง เป็นต้น

3. การเมืองเปรียบเทียบ (Comparative Politics)                                                                                        
            นี่คือสาขาหนึ่งที่เก่าแก่มาก เป็นสาขาในยุคบุกเบิก ตั้งแต่สมัยของอริสโตเติ้ลเลยทีเดียว ในสาขานี้จะเป็นการศึกษารัฐบาลเปรียบเทียบ โดยศึกษาระบบรัฐบาลและการเมืองการปกครองของแต่ละประเทศ


ภาพ Comparative Politics
ที่มา polisci.acadiau.ca

4. กฎหมายมหาชน (Public Law)
           ทำความเข้าใจในรากฐานของรัฐรวมทั้งปัญหาของการแบ่งแยกอำนาจ ศึกษาและวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของกฎหมายทั่วไปกับกฎหมายสูงสุดของรัฐ รวมทั้งการพิจารณาถึงอำนาจหน้าที่ของระบบศาลยุติธรรมและความสัมพันธ์ระหว่างจารีตประเพณีกับกฎหมาย

5. ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ (International Relations)      
           พิจารณาเกี่ยวกับเรื่องราวที่เกิดขึ้นในระบบระหว่างประเทศ  จะศึกษาจากทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ พัฒนาการของระบบระหว่างประเทศ นโยบายต่างประเทศ ความมั่นคง นโยบาย หลักการและวิธีการในความสัมพันธ์ระหว่างรัฐ เน้นศึกษาประเทศๆในแต่ละภูมิภาคไป เช่น เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เอเชียใต้ เอเชียตะวันออก อเมริกา ยุโรป และยุโรปตะวันออก


ภาพ Department of International Relations
ที่มา
www.bucknell.edu

           ตัวอย่างวิชาที่เรียน เช่น  การเมืองระหว่างประเทศ, เศรษฐกิจการเมืองระหว่างประเทศ, องค์การระหว่างประเทศ, นโยบายต่างประเทศของไทย, การทูต, กระบวนการกำหนดนโยบายต่างประเทศ, ทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ, นโยบายต่างประเทศเปรียบเทียบ, เหตุการณ์ปัจจุบันระหว่างประเทศ, ประเด็นศึกษาในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

6. สาขาวิชาบริหารรัฐกิจ หรือ รัฐประศาสนศาสตร์(วิชาที่ว่าด้วยการบริหารรัฐ) (Public Administration)
           สาขาวิชานี้นับได้ว่าเป็นสาขาหรือแขนงใหม่ของวิชารัฐศาสตร์ เรียนเกี่ยวกับการบริหารกิจการต่างๆอันเป็นของรัฐ หรือการบริหารงานภาครัฐ โดยมุ่งเน้นในเรื่องความถูกต้องและเป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ ยึดหลักประสิทธิภาพในการบริหาร ความเสมอภาคและเป็นธรรมในสังคม ความสัมพันธ์ระหว่างการเมือง นโยบาย และการบริหาร มนุษย์สัมพันธ์ ภาวะผู้นำ องค์การสาธารณะ ระบบราชการ ทฤษฎีองค์การ นั้นคือ ให้ประชาชนอยู่ดีกินดีนั้นเอง


ภาพ Books for Public Administration
ที่มา blogs.ntu.edu.sg

           ตัวอย่างวิชาที่เรียน เช่น องค์การและการบริหารในภาครัฐ , การบริหารทรัพยากรมนุษย์ในภาครัฐ,  การบริหารการคลัง, การกำหนดและวิเคราะห์นโยบายสาธารณะ, การบริหารงานคลังส่วนท้องถิ่น, การวางแผนทรัพยากรมนุษย์ในภาครัฐ , ปัญหาในการบริหารรัฐกิจ, การเมืองและระบบราชการ, พฤติกรรมองค์การ ,  การวางแผนในภาครัฐ  เป็นต้น

อาชีพสำหรับผู้จบรัฐศาสตร์

           เจ้าหน้าที่ ตามหน่วยงานของรัฐ บริษัทเอกชน และรัฐวิสาหกิจ เช่น งานด้านกำหนดนโยบายและแผน จัดการบริหารองค์กร บริหารแรงงาน บริหารการคลังและงบประมาณ งานด้านการปกครอง เจ้าหน้าที่
           ตัวแทนรัฐบาลไทยในต่างประเทศและองค์กรระหว่างประเทศ ผู้นำทางการเมืองหรือองค์กรทางการเมือง รวมทั้งงานในสาขาสื่อมวลชนในสายการเมือง

ข้อมูลอ้างอิง
           วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี ว่าด้วยวิชารัฐศาสตร์ โดย fofeve (จิดาภา ละมัย)
           คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
           คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
           คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ข้อมูลจาก http://www.vcharkarn.com/varticle/40309

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น